การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามภารกิจภายใน 3 ปี ไปสู่การปฏิบัติ
ในการบริหารจัดการและดำเนินงานตามภารกิจภายใน 3 ปี (พ.ศ.2566- 2568) ของโรงเรียนตะพานหิน จะประสบความสำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้หรือไม่นั้น จำเป็นที่จะต้องดำเนินการบริหารแผนสู่การปฏิบัติ การกำกับติดตาม การประเมินผล และการรายงานผล ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว ประกอบด้วยปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
การบริหารแผนสู่การปฏิบัติ : บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีดังนี้
1. คณะกรรมการ
1.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และตามกฎกระทรวงที่กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยพิจารณาให้ความเห็น เสนอแนะเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) กำหนดเป้าหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานศึกษา
2) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี
3) เรื่องอื่น ๆ ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจิตรพิทยาคม เสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ผู้บริหารสถานศึกษา
2.1 ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้บริหารสูงสุด สถานศึกษา มีหน้าที่และความรับผิดชอบบังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา บริหารกิจการของสถานศึกษา การวางแผนการปฏิบัติงาน การควบคุม กำกับ ดูแลเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ งบประมาณ การบริหาร งานบุคคล การบริหารทั่วไป งานอื่นที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ คือ
1) บังคับบัญชาบุคลากรในสถานศึกษา มีอำนาจหน้าที่บริหารกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2) วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและจัดทำรายงานเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษา
3) จัดทำ และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
4) ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา
5) บริหารงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน
6) วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการส่งเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ และร้องทุกข์
7) จัดทำมาตรฐาน และภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
8) ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
9) ประสานความร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น ในการระดมทรัพยากร เพื่อการศึกษาและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน
10) จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
11) จัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
12) เป็นผู้แทนของสถานศึกษาในกิจการทั่วไป รวมทั้งที่ได้รับมอบอำนาจ สัญญาในราชการของสถานศึกษาตามวงเงินงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับ ตามที่ได้รับมอบอำนาจ
13) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย
2.2 รองผู้อำนวยการสถานศึกษา มีหน้าที่ และความรับผิดชอบรองจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานศึกษาในการช่วยบริหารกิจกรรมของสถานศึกษา การวางแผนปฏิบัติงาน การกำกับ ติดตาม ดูแล เกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานทั่วไปและงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติงานจากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยช่วยปฏิบัติราชการในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1) บริหารกิจการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับนโยบาย และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
2) วางแผนพัฒนาการศึกษา ประเมินและรายงานผลการจัดการศึกษา
3) จัดทำและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา การนิเทศ และการวัดผลประเมินผล
4) ส่งเสริมและจัดการศึกษา ฝึกอบรมให้กับผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย
5) จัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษา
6) การบริหารการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินอื่น ๆ
7) วางแผนการบริหารงานบุคคล การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน วินัย การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย และการออกจากราชการ
8) จัดทำมาตรฐานและภาระงานของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
9) ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรในสถานศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
10) ประสานความร่วมมือกับชุมชน และท้องถิ่นในการระดมทรัพยากรเพื่อการส่งเสริมและให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน
11) จัดระบบควบคุมภายในสถานศึกษา
12) จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
13) ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
3. ครู – อาจารย์ และบุคลากรอื่นๆ
3.1 ครูผู้ช่วย มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนการส่งเสริมการเรียนรู้พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษาและมีหน้าที่ในการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายโดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้ คือ
1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) จัดอบรมสั่งสอนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3) ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา
4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
5) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
3.2 ครู มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียน ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา พัฒนาตนเองและวิชาชีพ ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน และสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน การบริการสังคมด้านวิชาการและด้านวิชาชีพ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติดังนี้ คือ
1) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) จัดอบรมสั่งสอน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3) ปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษา
4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
5) ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนและสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
6) ทำนุบำรุง ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
7) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินพัฒนาการผู้เรียน เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
3.3 พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว มีหน้าที่ และความรับผู้รับผิดชอบตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมายให้ปฏิบัติ
4. ผู้ปกครองและชุมชน
1) ให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานศึกษา
2) ร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
3) เสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนางานของสถานศึกษา
4) ดูแล เอาใจใส่นักเรียน นักศึกษาในปกครองในด้านการเรียน และความประพฤติ
5) เป็นกระบอกเสียงประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสถานศึกษา
6) ร่วมพัฒนาปรับปรุงเพื่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา |